วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บุญกระฐิน

งานบุญกฐิน ถือเป็นงานบุญที่มีอานิสงส์มากรองจากงานบุญผะเหวด คือมีอานิสงส์ 80 กันฑ์
อานิสงส์ 1 กันฑ์ เปรียบได้กับ การที่เราเอาผ้าไหม ไปถูภูเขาที่มีความสูง 1000 โยชน์ปีละหนึ่งครั้งให้ราบเรียบ จะต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ ภูเขาถึงจะกลายเป็นที่ราบ
งานบุญกฐิน จะกระทำได้หลังออกพรรษา โดยมีระยะเวลา 1 เดือน และวัดแต่ละวัดสามารถรับกองกฐินได้เพียงหนึ่งกองเท่านั้น  จึงมีการจองกฐินกันล่วงหน้ากับวัดที่ต้องการจะถวายกองกฐิน ยกเว้นกฐินพระราชทานไม่ต้องจอง
สิ่งสำคัญที่สุดในการทอดกฐิน คือ ผ้ากฐิน (ไตรจีวร) ส่วนปัจจัยและข้าวของอื่นๆ ถือเป็นบริวาร เป็นส่วนเสริมเข้ามา
การได้ถวายผ้าแด่พระภิกษุได้รับอานิสงส์มากอยู่แล้ว ยิ่งเป็นผ้ากฐินยิ่งได้รับอาสงส์มากยิ่งกว่า
งานบุญที่ถือว่าเป็นงานบุญที่มีอานิสงส์มาก ได้แก่
  1. งานบุญบวชลูกชาย
  2. งานบุญกฐิน
  3. งานบุญผะเหวต (การได้ฟังการเทศน์มหาชาติตั้งแต่ต้นจนจบ ถือว่าได้รับอานิสงส์มากกว่างานบุญใดๆ)
" กฐิน" มีความหมายเกี่ยวข้องกันถึง ๔ ประการ คือ
๑. เป็นชื่อของกรอบไม้ อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่า สะดึงก็ได้
๒. เป็นชื่อของผ้า ที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวร ตามแบบหรือกรอบไม้นั้น
๓. เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ ในการถวายผ้ากฐินเพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวร
๔. เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบ
จากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

กฐินที่เป็นชื่อกรอบไม้

กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้นั้นเนื่องจากในครั้งพุทธกาล การทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนด กระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวมผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียกผ้านุ่งว่า สบง ผ้าห่มว่า จีวร ผ้าห่มซ้อนว่า สังฆาฏิการทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัด เย็บ ย้อมทำให้เสร็จใน
วันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จหรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้น ก็รื้อเก็บไว้ในการทำผ้าเช่นนั้นอีกในปีต่อ ๆ ไป การรื้อแบบไม้นี้ เรียกว่า เดาะ ฉะนั้นคำว่า กฐินเดาะหรือ เดาะกฐิน จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้ากฐินที่เป็นชื่อของผ้า
หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล ๑ เดือน นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาดหรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้ว ก็เป็นอันใช้ได้
กฐินที่เป็นชื่อของผ้า
หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล ๑ เดือน นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาดหรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้ว ก็เป็นอันใช้ได้

กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ
คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัตชอบให้มีผ้านุ่ง หรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าว
คำถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็นกาลทานคือการถวายทานที่ทำได้เฉพาะกาล ๑ เดือนดังกล่าวในกฐินที่เป็นชื่อของผ้า ถ้าถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือว่าหาโอกาสทำได้ยาก
กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม
คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็ จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษรูปอื่นขยายเวลาทำจีวรได้อีก ๔ เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาล การหาผ้า การทำจีวรทำได้ยากไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑๐ วันแต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้ว
อนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บผ้าไว้เป็นจีวรได้ตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔จากข้อความข้างต้น จะเห็นว่าความหมายของคำว่า กฐินมีความเกี่ยวข้องกันทั้ง ๔ ประการเมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จแล้ว และประชุมกันอนุโมทนากฐิน คือแสดงความพอใจว่า
ได้กรานกฐินเสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น