วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558
การดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ
วัดโพธฺ์ศรีแก้ว บ้านก้านเหลืองดง ได้ดำเนินงานเรื่องวัดส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และในปี 2551 ได้เป็นตัวแทนอำเภอดงหลวง ในการประกวดวัดส่งเสริมสุขภาพ ระดับจังหวัดมุดาหาร ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1
ซึ่งในปี พ.ศ. 2552 ทางวัดโพธิ์ศรีแก้วว ร่วมกับประชน และหน่วยงานของทางราชการทุกภาคส่วน ได้ดำเนินงานต่อเนื่ิอง ตามเกณฑ์ชี้วัด วัดส่งเสริมสุขภาพ 5 ร. คือ
1.สะอาด ร่มรื่น
2.สงบ ร่มเย็น
3.สุขภาพร่วมสร้าง
4.ศิลปะ ร่วมจิต(วิญญาณ)
5.ชาวประชาร่วมสร้าง
สภาพทางสังคม
-
บ้านเรือนความมั่นคงถาวร มีการจัดเป็นระเบียนถูกสุขลักษณะ
-
ครอบครัวมีความอบอุ่น
-ประชาชนส่วนใหญ่มีความสุขภาพดี
-เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน
-เป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง
-ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ติดสุรา ไม่ติดบุหรี่ ห่างไกลจากยาเสพติด
-ปฏิบัติกิจทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1ครั้ง
-ผู้สูงอายุและผู้การได้รับการดูแลเป็นอย่างดีทุกคน ได้รับเบี้ยยังชีพจากองค์การบริหารส่วน
ตำบลหนองแคน
-ครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในชมชน
-ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง
วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558
ศูนย์รวมจิตใจ
ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ชาวบ้านก้านเหลืองดง มีวัดโพธิ์ศรีแก้วเป็นวัดประจำหมู่บ้าน เป็นที่พึ่งทางใจ
เป็นศูนย์รวมในการประกอบพิธีทางศาสนา อันนำมาซึ่งความสงบงดงามของจิตใจ และเป็นแหล่่งเรียนรู้ธรรมะเมื่อมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัด ชาวบ้านก้านเหลืองดงทุกหลังคาเรือน จึงพร้อมใจกันมา
ร่วมกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นทุนทรัพย์หรือแรงกาย
วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558
การส่งเสริมการศึกษา
มีโรงเรียน ประถม 1 แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1แห่ง
ตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนที่วัดโพธิ์ศรีแก้ว 1 แห่ง
ชุมชนส่งเสริมให้ประชาชนอ่านออกเสียงและเขียนได้ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่อ่านหนังสือออก
และเขียนได้ส่งเสียบุตรหลานให้ได้รับการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษา ร้อยละ 97 คน
วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558
กระบวนการพัฒนา โดยใช้วงจร PDCA ในวัดโพธิ์ศรีแก้ว
วัดโพธิ์ศรีแก้ว มีแนนคิดในการดำเนินการจัดการบริหาร คือ การทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยมีการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติของบุคลากรทุกระดับและฝ่าย บริหารงานตามวงจรการทำงานแบบ PDCA ในทุกกิจกรรมที่มีการดำเนินงานจะมีการกำกับ
ติดตามการทำงานเป็นระยะ ๆ โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการและรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ มีการประชุมคณะกรรมการทุกครั้งที่จัดกิจกรรมภายในวัด เดือน 1ครั้ง เป็นอย่างน้อย ซึ่งใช้วิธีการดำเนินงานดังต่อไปนี้
1. การวางแผนงานของวัด
ใช้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยเจ้าอาวาส กรรมการวัดทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาวัดร่วมกัน มีการกำหนดเป้าหมายดำเนินการภายใต้กรอบมาตรฐานของกรมศาสนา
2.การนำแผนสู่การปฏิบัติการ
กำหนดช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมช่วงกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแผนการดำเนินงานประจำปี มีการติดตาม ตรวจสอบ จากผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นระยะๆ
3. การตรวจสอบติดตาม
มีการวางแผนระบบการทำงานโดยเจ้าอาวาสมีคำสั่ง มอบหมายให้คณะกรรมการวัดรับผิดชอบต่อกิจกรรมต่างๆ และรายงานผลให้เจ้าอาวาสทราบเป็นระยะๆ
4.การพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงาน
มีการนำผลการประเมินมาประชุมกันสรุปประเด็นปัญหา อุปสรรคและหาแนวทางแก้ไขให้ดียิ่งขึ้ง
บทความที่ใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)